2. การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา

เทคโนโลยี เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาใช้เพื่อการแก้ปัญหาพื้นฐานที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิต ตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น การเพราะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การสร้างที่อยู่อาศัย เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค การคมนาคมขนส่ง การค้าขาย โดยเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น วิทยาการและองค์ความรู้ต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทันสมัยมากขึ้น อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ปริมาณของทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำนวนลดลง เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงถูกคิดค้นขึ้นมาโดยเน้นให้เกิดประสิทธิภาพสูงบสุด โดยเฉพาะเรื่องการใช้พลังงาน การกำจัดขยะ การรักษาโรค และการอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อม

2.1 ระดับของเทคโนโลยีที่ใช้ในการแก้ปัญหา

ระดับของเทคโนโลยีที่ใช้ในการแก้ปัญหา แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

1. เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านหรือพื้นฐาน
ลักษณะของเทคโนโลยี ตัวอย่างเทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการดำรงชีพ อาศัยทรัพยากรที่มีอยุ่ในท้องถิ่นพัฒนาเป็นเทคโนโลยี โดยเทคโนโลยีระดับพื้นบ้าน เกิดจากการสังเกต จดจำ และฝึกหัดจนเกิดประสบการณ์ตรง
  • เทคโนโลยีในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำมีดพร้า จอบ เสียม คราด
  • เทคโนโลยีในการแปรรูปผลผลิต การถนอมอาหาร เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาและชะลอการเน่าเสียของอาหาร โดยที่ยังรักษาคุณค่าทางโภชนาการไว้ เช่น การตากแห้ง การแช่แข็ง
  • การคิดค้นตำรับยาสมนุไพร เช่น ยาแก้ไข้ ยาขับลม ยาบำรุงโลหิต
  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ปราชญ์ชาวบ้าน
  • สื่อดิจิทัลในเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั้งจากในและต่างประเทศ
  • ...

    เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านหรือพื้นฐาน

    ...

    เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านหรือพื้นฐาน

    ...

    เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านหรือพื้นฐาน

    2. เทคโนโลยีระดับกลาง
    ลักษณะของเทคโนโลยี ตัวอย่างเทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้
    เป็นเทคโนโลยีที่ต้องการความรู้และประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น มีการใช้กลไกที่ซับซ้อนมากขึ้น ผู้ปฏิบัติงานจึงต้องมีความรู้และมีทักษะ รวมทั้งมีประสบการณ์มากขึ้น เทคโนโลยีที่ใช้เป็นเครื่องมือทุ่นแรง หรือ เครื่องมือที่เกษตรกรใช้ในการทำงานเกษตรเพื่อช่วยลดความยากลำบากในการทำงาน เช่น รถไถนา รถดำนา รถเกี่ยวนวดข้าว เครื่องอัดฟาง เครื่องหว่านปุ๋ย เครื่องฝังปุ๋ย เครื่องพ้นอเนกประสงค์
  • สถาบัน องค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • สถานประกอบการ สถานประกอบวิชาชีพอิสระ โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยวิจัยในท้องถิ่น
  • สื่อดิจิทัลในเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั้งจากในและต่างประเทศ
  • ...

    เทคโนโลยีระดับกลาง

    ...

    เทคโนโลยีระดับกลาง

    ...

    เทคโนโลยีระดับกลาง

    2. เทคโนโลยีระดับสูง
    ลักษณะของเทคโนโลยี ตัวอย่างเทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้
    เป็นเทคโนโลยีที่ต้องอาศัยประสบการณ์ขั้นสูง มีการใช้ระบบฐานข้อมูลและการติดต่อสื่อสารตลอดจนมีการศึกษาและวิจัยพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีการลงทุนสูงเพื่อให้ได้ผลงานเทคโนโลยีเหล่านั้น
  • เทคโนโลยีที่ใช้ทางการเกษตร เช่น การตัดแต่งพันธุกรรมพืช การประยุกต์ใช้ Internet of things (IOT) ในการทำ Smart Farm โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลกันได้และสามารถควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
  • เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต เช่น หุ่นยนต์
  • สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น วารสาร หนังสืออ้างอิง
  • สถาบัน องค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • สถานประกอบการ สถานประกอบวิชาชีพอิสระ โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยวิจัยระดับชาติและนานาชาติ
  • สื่อดิจิทัลในเว็บไซต์ต่าง ทั้งจากในและต่างประเทศ
  • ...

    เทคโนโลยีระดับกลาง

    ...

    เทคโนโลยีระดับกลาง

    ...

    เทคโนโลยีระดับกลาง

    2.2 ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกเทคโนโลยี

    การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนางานอาชีพจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่า ควบคู่กับผลลัพธ์จากการใช้เทคโนโลยีนั้นด้วย ปัจจัยที่จำเป็นในการตัดสินใจ มีดังนี้

    ...

    ทรัพยากรทางเทคโนโลยี

    1. ทรัพยากรทางเทคโนโลยี สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมี 7 ด้าน ดังนี้

  • 1) มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารในการพัฒนาหรือใช้เทคโนโลยีนั้น หรือสามารถพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ให้มีความรู้ที่จะใช้ในการพัฒนาหรือใช้เทคโนโลยีนั้นได้
  • 2) มีข้อมูลและสารสนเทศในการพัฒนาเทคโนโลยี โดยมีข้อมูลจากความรู้หรืองานวิจัยที่สามารถยืนยันการใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของชุมชน
  • 3) มีวัสดุที่ใช้ในการสร้างเทคโนโลยีอยุ่ภายในชุมชนหรือจัดหามาได้ไม่ยาก
  • 4) มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้เป็นชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม
  • 5) มีพลังงานที่ทกให้เทคโนโลยีเกิดการทำงาน
  • 6) มีงบประมาณ ทุน รวมถึงทรัพย์สินที่เป็นอาคาร สถานที่ หรือที่ดินที่เหมาะสม
  • 7) มีเวลาในการสร้างเทคโนโลยี

  • ...

    ผลกระทบต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในชุมชนหรือท้องถิ่น

    2. ผลกระทบต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในชุมชนหรือท้องถิ่น การสร้างสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม จะต้องมีการประเมินผลกระทบต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในชุมชนหรือท้องถิ่น ดังนี้

  • 1) การประเมินผลกระทบต่อมนุษย์และสังคม เป็นการประเมินผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบที่เกิดขึ้นต่อชีวิตของมนุษย์ เช่น ความปลอดภัยในการใช้งาน การปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิต การปรับเปลี่ยนแนวความคิด
  • 2) การประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เป็นการประเมินผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบที่เกิดขึ้นต่อการผลิต การจำหน่าย การบริโภค รวมถึงบริการต่าง ๆ ของชุมชนหรือท้องถิ่น
  • 3) การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการประเมินผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบที่เกิดขึ้นต่อความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในธรรมชาติ จนอาจเกิดภัยพิบัติที่ร้ายแรง

  • 3. ความถูกต้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาต้องคำนึงถึงทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ โดยทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์อีกชนิดหนึ่ง สิทธิบัตรตามที่กฎหมายกำหนด หากมีการละเมิดกฎหมายจะมีโทษจำคุก เสียค่าปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีขึ้นมาแก้ปัญหานั้น ผุ้สร้างสรรค์ควรตรวจสอบว่า มีเทคโนโลยีมีลักษณะคล้ายกับของตนได้รับการจดทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางปัญญาแล้วหรือไม่ เพราะหากเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์ขึ้นซ้ำกับสิ่งประดิษฐ์ที่มีลิขสิทธิ์อยู่แล้ว อาจจะทำให้ผู้สร้างสรรค์ถูกฟ้องร้อง เรื่อง ละเมินลิขสิทธิ์ ในภายหลังได้

    แหล่งข้อมูลในการสืบค้น เรื่องสิทธิบัตร

  • การสืบค้นสิทธิบัตรในระบบสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เข้าถึงได้ที่https://www.ipthailand.go.th/th/
  • คลังข้อมูลงานวิจัยไทย โดยความร่วมมือของหน่วยงานวิจัยในประเทศไทย เช่น
    - สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
    - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
    - สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)
    - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.)
  • ฐานข้อมูลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและหน่วยงานวิจัยในประเทศไทย เช่น คลังปัญญาจุฬา ฯ เพื่อประเทศไทย https://cuir.car.chula.ac.th/ และ Thai Digital Collection (TDC) https://tdc.thailis.or.th/tdc/
  • ...

    ความถูกต้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา