เทคโนโลยีเป็นวิทยาการที่เกิดขึ้นจากการนำความรู้ด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในทุกภาคส่วนของธุรกิจ เทคโนโลยีจึงเกี่ยวข้องกับการนำความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มาประกอบกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอาชีพต่าง ๆ ในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
วิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต รวมถึงปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ เป็นพื้นฐานสำคัญ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงเกิดจากการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ ที่ตอบสนองต่อความต้องการหรือการแก้ปัญหาของมนุษย์ โดยวิทยาศาสตร์แบ่งออกได้ 2 สาขา ดังนี้
เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโลก สิ่งรอบ ๆ โลก และปรากฎการณ์ ทางธรรมชาติ โดยกลุ่มย่อยของความรู้สำคัญที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มีดังนี้
ด้าน | ขอบข่ายความรู้ | ตัวอย่างเทคโนโลยี |
---|---|---|
ดาราศาสตร์ | ศึกษาเกี่ยวกับวัตถุบนท้องฟ้า เช่น ดวงดาว และปรากฎการณ์ ที่อยู่นอกชั้นบรรยากาศโลก เช่น ดาวตก พายุสุริยะ | |
ชีววิทยา | ศึกษาเกี่ยวสิ่งมีชีวิตในทุก้าน เช่น โครงสร้าง การเจริญเติมโต การสืบพันธุ์ | |
ฟิสิกส์ | ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น การเคลื่อนที่ของวัตถุ พลังงานแสง | |
เคมี | ศึกษาเกี่ยวกับสสาร องค์ประกอบ โครงสร้าง สมบัติ การเปลี่ยนแปลงของสสาร ปฏิกิริยา ของสสาร |
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science)
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science)
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science)
เป็นการนำความรู้จากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้กับ การแก้ปัญหาในชุมชนหรือสังคมมนุษย์ โดยกลุ่มย่อยของความรู้คัญที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มีดังนี้
ด้าน | ขอบข่ายความรู้ | ตัวอย่างเทคโนโลยี |
---|---|---|
วิศวกรรมศาสตร์ | การประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและพัฒนาโครงสร้าง เครื่องจักร เครื่องมือ กระบวนการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรม | |
วิทยาการคอมพิวเตอร์ | การคำนวณหรือการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ทั้งด้านโครงสร้าง ซอฟต์แวร์ และเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ | |
วิทยาการรับรู้ | ความสัมพันธ์ระหว่างการคิด อารมณ์ และการแสงออกของมนุษย์ เพื่อค้นหาคำตอบ เช่น การเกิดปัญหาของมนุษย์ การตอบสนองและอารมณ์ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นกับสิ่งเร้าที่แตกต่างกัน |
วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science)
วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science)
วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science)
การพัฒนาเทคโนโลยีนอกจากความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ยังต้องใช้คณิตศาสตร์ซึ่งความรู้ด้านการคำนวณที่เข้ามาพิสูจน์สิ่งที่สังเกตได้จากวิทยาศาสตร์ เพื่ออธิบายปรกกฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ และสามารถทำนายผลลัพธ์ได้อย่างแม่นยำ
ตัวอย่างที่ 1กล้องตรจจับความเร็วอัตโนมัติแบบวัดเป็นช่วง (Point-to-Point Speed camera) เป็นกล้องตรวจจับความเร็วแบบถาวรที่ติดตั้งเป็นช่วง ๆ ถนนในระยะยาว เพื่อดูความเร็วเฉลี่ยของยานพาหนะ โดยหากความเร็วเฉลี่ยสูงกว่าความเร็วที่กฎหมายกำหนดก็จะส่งข้อมูลเพื่อออกใบสั่ง และส่งไปยังที่อยู่ของผู้ขับขี่ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้
กล้องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติแบบวัดเป็นช่วง เป็นเทคโนโลยีที่นำความรู้ด้านฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรงของวัตถุ โดยเมื่อเวลาเปลี่ยนไปวัตถุที่มีการเคลื่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง เช่น การเคลื่อนที่ของรถยนต์บนถนนทางตรง และได้นำหลักการทางคณิตศาสตร์มาอธิบายการเคลื่อนที่จึงทำให้คำนวณหาความเร็วเฉลี่ยของวัตถุได้อย่างแม่นยำ
กล้องตรจจับความเร็วอัตโนมัติแบบวัดเป็นช่วง (Point-to-Point Speed camera)
มัลติมิเตอร์ เป็นเครื่องสำหรับวัดแรงดันไฟฟ้า วัดกระแสไฟฟ้าทั้งแบบกระแสตรงและกระแสสลับ วัดความต้านทานไฟฟ้า เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดและคำนวณการทำงานของวงจรไฟฟ้าในอุปกรณ์ต่าง ๆ ว่าทำงานถูกต้องหรือไม่
มัลติมิเตอร์
มนุษยศาสตร์ เป็นความรู้จากการศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกทางอารมณ์ จินตนาการ ความฝัน คุณค่า คุณธรรม และจริยธรรม โดยกลุ่มย่อยของความรู้สำคัญที่เกี่ยวกับมนุษย์ศาสตร์ มีดังนี้
ด้าน | ขอบข่ายความรู้ | ตัวอย่างเทคโนโลยี |
---|---|---|
ศาสนา | ความเชื่อของมนุษย์ หลักศีลธรรม พิธีกรรม คำสอน | |
ภาษา | การพูดหรือกิริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์หรือสัตว์กับสัตว์ | |
ศิลปะ | ผลงานที่บ่งบอกถึงความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้ปรากฎ ทั้งสุนทรียภาพ ความประทับใจหรือสะเทือนอารมย์ |
เทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์
เทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์
เทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์
สังคมศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์และสังคม โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ศึกษา เฉพาะปรากฏการณ์เชิงประจักษ์ ที่พิสูจน์ได้แน่นอนด้วยประสาทสัมผัส หรือด้วยการใช้เครื่องมือสำหรับทดลองและเก็บข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้สามารถยืนยันข้อเท็จจริงได้ว่า เป็นอย่างไร เมื่อทำการทดสอบตามสภาพความเป็นจริง มีการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปความรู้เป็นแนวคิด ทฤษฎี หรือกฎเกณฑ์ตามความเป็นจริงที่พิสูจน์แล้ว และมีการแบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ เช่น ภูมิศาสตร์ ประชากรศาสตร์ นิติศาสตร์ เป็นต้น
ด้าน | ขอบข่ายความรู้ | ตัวอย่างเทคโนโลยี |
---|---|---|
ประวัติศาสตร์ | การค้นหา รวบรวม จัดระเบียบ และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ เหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงในอดีตเพื่อให้สืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบัน | |
รัฐศาสตร์ | การเมือง การปกครองและการบริหารรัฐบาล | |
ภูมิศาสตร์ | ข้อมูลลของพทืนที่และบริเวณต่าง ๆ ของพื้นผิวโลกเกี่ยวกับตำแหน่ง ทำเล ที่ตั้ง รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่บริเวณโดยรอบ |
เทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์
เทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์
เทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์