เทคโนโลยีในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่มีอยุ่ในชีวิตประจำวัน เกิดจากการนำวัสดุหลายประเภทที่มีสมบัติแตกต่างกันมาประกอบหรือผสมเข้าด้วยกัน การคัดเลือกวัสดุจากสมบัติจึงมีความสำคัญต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์และวัตถุประสงค์ในการใช้งานโดยตรง เช่น แก้วน้ำที่ทำจากกระดาษสำหรับใช้ครั้งเดียว แก้วน้ำที่ทำจากพลาสติกปลอดภัยกับเด็กมากกว่าแบบที่ทำจากแก้ว
วัสดุ(Materials) คือ สิ่งของหรือวัตถุที่นำมาใช้ประกอบกันเป็นชิ้นงานตามการออกแบบ เป็นวัตถุที่สามารถสัมผัสได้ และมีสมบัติเฉพาะตัวของฟิสิกส์ ทางเคมี ทางไฟฟ้า หรือสมบัติเชิงกลแตกต่างกันไป จึงต้องมีการวิเคราะห์สมบัติของวัสดุเพื่อเลือกใช้ให้เหมาะกับลักษณะของงาน วัสดุแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
วัสดุ | สมบัติเด่น | ลักษณะงาน |
---|---|---|
1) โลหะกลุ่มเหล็ก (Ferrous Metals) เช่น เหล็กกล้า เหล็กเหนียว เหล็กหล่อ | โลหะพื้นฐานที่มีเหล็กผสมอยู่ มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงตามความต้องการในการใช้งานด้วยกรรมวิธีการหล่อ การอัดรีดขึ้นรูป การกลึง เมื่อเหล็กรวมตัวกับอากาศจะทำให้เกิดเป็นสนิม | ใช้ในงานด้านโครงสร้างและงานอุตสาหกรรม เช่น ชิ้นส่วนของเครื่องจักร เครื่องทุ่นแรง |
2) โลหะนอกกลุ่มเหล็ก (Non-Ferrous) เช่น ดีบุก อลูมิเนียม สังกะสี ตะกั่ว ทองแดง เงิน ทองเหลือง | โโลหะบริสุทธิ์ที่ไม่มีเหล็กผสมอยู่ มีทั้งโลหะหนักและโลหะเบา ทนทานต่อการกัดกร่อน น้ำหนักเบา ยืดตัวได้ง่าย มีความเหนียว | ใช้ในงานอุตสาหกรรมบางประเภท เนื่องจากบางชนิดมีราคาสูง เช่น ใช้ทองแดงในงานไฟฟ้า ใช้อลูมิเนียมกับงานที่ต้องการน้ำหนักเบา |
โลหะกลุ่มเหล็ก (Ferrous Metals)
โลหะนอกกลุ่มเหล็ก (Non-Ferrous)
คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติต่างจากโลหะและวัสดุกึ่งโลหะ ในด้านการแตกตัวของไอออน (Ionization) และการดึงดูดระหว่างอะตอม (Bonding Properties) อโลหะแตกตัวในสารละลายได้ ให้ประจุลบ จึงใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าหรือกึ่งตัวนำไฟฟ้า (ขณะที่โลหะเป็นตัวนำไฟฟฟ้า) ยกเว้นคาร์บอนในรูปแกรไฟต์และฉนวนความร้อน อโลหะที่เป็นของแข็งจะมีความเปราะ ไม่สามารถดึงยืดออกเป็นเส้นลวดหรือตีเป็นแผ่นบาง ๆ ได้ อโลหะแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
วัสดุธรรมชาติ หมายถึง วัสดุที่ได้จากผลผลิตจากธรรมชาติ ซึ่งวัสดุธรรมชาติที่พบในแต่ละภูมิภาค ในประเทศไทย มีหลายชนิดและอาจจะแตกต่างกันในแต่ละชุมชนหรือท้องถิ่น สามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ รวมทั้งวางขายเพื่อเสริมรายได้ให้แก่คนในชุมชนหรือท้องถิ่นได้ วัสดุธรรมชาติที่นิยมใช้ มีดังนี้
ไม้ | ||
สมบัติ ไม้เป็นวัสดุแข็งที่ทำจากแก่นลำต้นของต้นไม้ ดูดซับเสียงได้ดี นำความร้อนต่ำ เป็นฉนวนป้องกันไฟฟ้าได้ดี มีการทดและขบายตัวเมื่อมีความชื่น | ลักษณะงาน ก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน เครื่องเรือนและเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ | |
ไม้ไผ่ | ||
สมบัติ ไม้ไผ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นแข็งแรงมีความเหนียว มีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่นและตัดโค้งงอได้ | ลักษณะงานนำหน่อไปทำเป็นอาหาร นำลำต้นไปเป็นเครื่องจักสานและเครื่องเรือน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ | |
หวาย | ||
สมบัติ หวายเป็นพันธุ์ไม้เลื้อย มีความเหนียว แข็งแรง ทนทาน และยืดหยุ่นได้ดี | ลักษณะงานจักสานเป็นเครื่องใช้และเครื่องเรือนต่าง ๆ เช่น ถาด ตะกร้า หมวก | |
มะพร้าว | ||
สมบัติ พืชยืนต้นที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น เนื้อมะพร้าว เปลือกมะพร้าว ขุยมะพร้าว กะลามะพร้าว | ลักษณะงานเนื้อมะพร้าวสกัดเป็นน้ำมัน เส้นใยในเปลือกมะพร้าวใช้ทำเชือก วัสดุทำเบาะและที่นอน ขุยมะพร้าวใช้ทำวัสดุเพาะชำต้นไม้ กะลามะพร้าวใช้ทำภาชนะ เครื่องตนตรี (ซออู้) ใช้ทำเชื้อเพลิงและถ่านกัมมันต์ (มีคุณสมบัติในการดูซับสูง) | |
กล้วย | ||
สมบัติ ไม้ล้มลุกที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จากทุกส่วน เช่น ราก ลำต้น ใบ | ลักษณะงานรากและลำต้นแท้ ใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคตามแผนโบราณ หรือใช้รักษาผิวหนังที่แดงปวด เนื่องจากไหม้แดด ลำต้นเทียมหรือกาบ ใช้ทำเส้นใยหรือทำเชือกทอผ้า เป็นอาหารสัตว์ ใบใช้เป็นภาชนะแทนจานข้าวนำมาใช้ห่ออาหารและสิ่งของ | |
ปอสา | ||
สมบัติ พืชเส้นใยชนิดหนึ่ง มักพบในภาคเหนือเส้นใยจากปอ ได้จากเปลือกของลำต้น เป็นวัตถุดิบคุณภาพดี ในการ ทำกระดาษที่เหนียว ทนทาน เก็บรักษาได้นาน | ลักษณะงานใช้ทำกระดาษ ร่ม ดอกไม้ประดิษฐ์ โคมไฟ พัด และบัตรอวยพรต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังใช้สกัดเป็นสารที่ใช้ในเครื่องสำอางเพื่อช่วยปรับสภาพผิดให้ดูขาว | |
ไหม | ||
สมบัติ เส้นใยที่ได้จากใยที่ห่อหุ้มดักแด้ ที่เรียกว่า รังไหม นิยมเลี้ยงกันมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เส้นใยจะมีลักษณะเหนียว และมันวาว | ลักษณะงานใช้ทอเป็นผ้าเพื่อสวมใส่ สามารถปรับให้เหมาะกับสภาพอากาศได้ดี คือ จะรู้สึกเย็นเมืออากาศร้อนและจะรู้สึกอุ่นเมื่ออากาศหนาว | |
ย่านลิเภา | ||
สมบัติ เป็นเฟินทอดเลื้อยยาวได้หลายเมตร ลำต้นเหนียว มักพบในภาคใต้ | ลักษณะงานใช้ทำเป็นเครื่องจักสานย่านลิเภา เช่น กระเป๋า โคมไฟ พัด เป็นต้น | |
กระจูด | ||
สมบัติ พืชเฉพาะทางภาคใต้ เป็นพันธุ์ไม้จำพวกกก(Sedge) ลักษณะลำต้นกลมสีเขียวอ่อน ดูดความชื้นได้ เหนียว และทน | ลักษณะงานใช้ทอเป็นเสื่อ กระเป๋า ตะกร้า และของใช้ในบ้าน รวมถึงน้ำมันหอมระเหยป้องกันเชื้อรา | |
ยางพารา | ||
สมบัติ ไม้ยืนต้นที่ให้ผลติผลสำคัญ คือ น้ำยาง ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่น กันน้ำ ไม้นำความร้อน และไม่นำไฟฟ้า | ลักษณะงานใช้แปรรูปเป็นยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง |
วัสดุสังเคราะห์ เป็นวัสดุที่ถูกปรุงแต่งขึ้นใหม่จากวัสดุธรรมชาติและสารเคมี ด้วยกระบวนการหรือกรรมวิธีต่าง ๆ วัสดุที่ได้จากการสังเคราะห์จะมีสมบัติเฉพาะตัว เช่น น้ำหนักเบา มีความแข็งแรงสูง คงทนต่อการกัดกร่อน คงทน ต่ออุณหภูมิ คงทนต่อสารเคมี เป็นที่นิยมในการนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมทุกแขนง วัสดุสังเคราะห์ที่นิยมใช้ มีดังนี้
ไม้สังเคราะห์ | ||
สมบัติ ไวัสดุทดแทนที่ทำจากไม้จริงผสมกับวัสดุ ประเภทอื่น ๆ ซึ่งทำให้มีสมบัติแตกต่าง กันไป | ลักษณะงาน
|
|
พลาสติก | ||
สมบัติ สารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้น มีสมบัติ คือ คงตัว สลายตัวยาก มีมวลน้อย เบา เป็นฉนวนความร้อนและไฟฟ้าที่ดี | ลักษณะงาน
|
|
แก้ว | ||
สมบัติ แก้วเป็นสารประกอบของซิลิกา กับสารโลหะออกไซด์ มีลักษณะโปร่งใสและมีความเปราะ | ลักษณะงาน
|
|
เส้นใยสังเคราะห์ | ||
สมบัติ เส้นใยที่เกิดจากการพัฒนาโดยเพิ่มสมบัติของเส้นใยที่มากยิ่งขึ้น จากเส้นใยปกติที่ได้จากพืชและขนสัตว์ | ลักษณะงาน
|
|
ยางสังเคราะห์ | ||
สมบัติ เป็นพอลิเมอร์ที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น มีความทนทานต่อการขูดขีดและป้องกันการผุกกร่อนได้ดี | ลักษณะงาน
|
การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงานนั้นจำเป็นจะต้องศึกษาหรือพิจารณาจากสมบัติของวัสดุนั้นให้ตรงกับงานที่ออกแบบ
หรือตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ จากวัสดุต่าง ๆ เช่น การทนต่อความร้อน การนำไฟฟ้า จุดหลอมเหลว ความโปร่งแสง สมบัติของวัสดุ
ที่นำมาพิจารณ์เลือกใช้ มีดังนี้